วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553



กระดังงา




Kenanga (Ylang Ylang)Cananga odorata (Lamk.) Hook. f. et. Th. ANNONACEAE ชื่ออื่นกระดังงา กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ สะบันงา สะบันงาต้น รูปลักษณะไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา กิ่งมักจะลู่ลงใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม.ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอกกลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ผลแก่จะเปลี่ยนจากสีเหลืองอมเขียวเป็นสีดำสรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยาดอก - มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ทอดกับน้ำมันมะพร้าว ทำน้ำมันใส่ผมใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเจ็ด












ขี้เหล็ก
Cassod Tree, Thai Copper Pod, Siamese CassiaSenna Siamea (Lamk.) H.S.Irwin et R.C.Bameby (Cassia siamea Lamk.) FABACEAE ชื่ออื่นขี้เหล็กบ้าน ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง) ยะหา (ปัตตานี) ผักจี้ลี้ (ฉานแม่ฮ่องสอน) แมะขี้เหละพะโคะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ขี้เหล็กแก่นรูปลักษณะไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 4 ซม. ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแกมเขียว ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝัก แบบยาวและหนาสรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยาใบ รสขม ถ่ายพรรดึก ถ่ายกระษัย ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ ขับปัสสาวะแก้ระดูขาว แก้นิ่ว ตำพอกแก้เหน็บชา แก้บวม บำรุงโลหิตดับพิษโลหิต ดองสุราดื่มก่อนนอน แก้นอนไม่หลับใบอ่อน, ดอกตูมและแก่น - มีสารกลุ่มแอนทราควิโนนหลายชนิด จึงมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ใช้ใบอ่อนครั้งละ 2-3 กำมือ ต้มกับน้ำ 1-1.5 ถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว นอกจากนี้ยังพบสารซึ่งมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้นอนหลับ โดยใช้วิธีนำมาดองเหล้า ดื่มก่อนนอนดอก รสขม แก้โรคประสาท แก้นอนไม่หลับ แก้หืด แก้รังแค เป็นยาระบายฝัก รสขม แก้ไข้พิษเพื่อปิตตะ ไข้เพื่อเสมหะเปลือกฝัก รสขมเฝื่อน แก้เส้นเอ็นตึง แก้กระษัยเปลือกต้น รสขม แก้กระษัย แก้ริดสีดวงทวารกระพี้ รสขมเฝื่อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้เพื่อดี แก้กระษัยเส้นเอ็นแก่น รสขมเฝื่อน ถ่ายพิษถ่ายเส้น ถ่ายม้าม แก้กระษัย แก้เหน็บชาแก้ไข้เพื่อกระษัย ขับโลหิต แก้เตโชธาตุพิการ ทำให้ตัวเย็น แก้แสบตาแก้กามโรค หนองใสราก รสขม แก้ไข้ แก้ไข้กลับ ไข้ช้ำ รักษาแผลกามโรค






มะกรูด
Leech Lime, Kaffir LimeCitrus hystrix D.C. วงศ์ Rutaceaeชื่อท้องถิ่น มะขูด มะขุน ส้มกรูด ส้มมั่วผีลักษณะ มะกรูดเป็นพืชที่ใช้เป็นเครื่องเทศมานานแล้ว โดยใช้ผิวของผลเป็นส่วนผสมในเครื่องแกงหลายชนิด ใช้เข้าเครื่องหอมโดยเป็นส่วนผสมในเทียนอบ ใบมะกรูดมีกลิ่นหอมใช้แต่งกลิ่นในอาหารคาวหลายชนิดเช่น ต้มยำ แกงเผ็ด น้ำมะกรูดใช้ปรุงอาหารเพื่อให้มีรสเปรี้ยวและดับกลิ่นคาวปลาคนโบราณนิยมสระผมด้วยน้ำมะกรูด เพราะช่วยให้ผมดำเป็นมันไม่แห้งกรอบ คนไทยนิยมปลูกมะกรูดไว้ตามบ้านและในสวน มะกรูดเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก ใบมีกลิ่นหอม ผลค่อนข้างกลม ผิวขรุขระมีปุ่มนูนและมีจุกที่หัวของผล ส่วนที่ใช้ คือ ใบและผลสารสำคัญ ในใบและผลมะกรูด เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำจะให้น้ำมันหอมระเหยในปริมาณ 0.08 % และ4 % ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยจากผิวมะกรูดมักประกอบด้วยเบต้า-ไพนีน, ไลโมนีนและซาบินีน เป็นสารหลักส่วนน้ำมันหอมระเหยจากใบจะประกอบด้วย ซีโทรเนลลาล, ไอโซพูลิโกลและไลนาลูออล เป็นสารหลัก ส่วนในน้ำมะกรูดมีกรดซิตริก ไวตามินซีและกรดอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ




ดอกอัญชัน
Clitoria Ternatea Linn.Butterfly Pea, Blue Pea วงศ์ Papilionaceae ชื่อท้องถิ่น เอื้องชัน (ภาคเหนือ) แดงชัน (เชียงใหม่)ลักษณะ เป็นพืชล้มลุก มีลักษณะเป็นเถาเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ต่าง ๆใบเป็นใบประกอบออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 5-7ใบ ลักษณะกลมโตคล้ายพุทราเนื้อใบด้านบนเรียบ ปลายใบมน มีกระดูกใบเห็นได้ชัดเจนดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามข้อหรือซอกใบ ลักษณะคล้ายดอกถั่ว ซึ่งมีชนิดดอกชั้นเดียว และดอก 2 ชั้น มีหลายสี ทั้งสีม่วงสีน้ำเงิน และสีขาว ฝักมีขนาดเล็กค่อนข้างแบน มีเมล็ดอยู่ภายใน
แหล่งที่พบ พบได้ตามทั่วไปตามที่รกร้าง และนิยมปลูกตามบ้านเรือนเพื่อเป็นไม้ประดับสารที่พบ ในดอกมีสารแอนโทไวยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารที่ให้สีแดงและสีน้ำเงินมีคุณสมบัติเป็นอิดิเคเตอร์ (Indicator) เช่นเดียวกับ ลิสมัส (Litmus)สรรพคุณ รากมีรสเย็นจืดใช้เป็นยาขับปัสสาวะพิการเป็นยาระบาย ช่วยบำรุงดวงตา แก้ตาอักเสบ ตาฟางตาแฉะ โดยนิยมใช้รากต้นอัญชัน ชนิดดอกสีขาว นอกจากนี้ถ้านำรากมาถูฟันจะทำให้ฟันคงทนแข็งแรงและแก้อาการปวดฟันได้ดี เมล็ดใช้เป็นยาระบาย ซึ่งใช้ชนิดดอกสีนำเงินและดอกสีขาวส่วนดอกสดนำมาทาศีรษะเพื่อใช้เป็นยาปลูกผม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น