วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553



กระดังงา




Kenanga (Ylang Ylang)Cananga odorata (Lamk.) Hook. f. et. Th. ANNONACEAE ชื่ออื่นกระดังงา กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ สะบันงา สะบันงาต้น รูปลักษณะไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา กิ่งมักจะลู่ลงใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม.ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอกกลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ผลแก่จะเปลี่ยนจากสีเหลืองอมเขียวเป็นสีดำสรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยาดอก - มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ทอดกับน้ำมันมะพร้าว ทำน้ำมันใส่ผมใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเจ็ด












ขี้เหล็ก
Cassod Tree, Thai Copper Pod, Siamese CassiaSenna Siamea (Lamk.) H.S.Irwin et R.C.Bameby (Cassia siamea Lamk.) FABACEAE ชื่ออื่นขี้เหล็กบ้าน ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง) ยะหา (ปัตตานี) ผักจี้ลี้ (ฉานแม่ฮ่องสอน) แมะขี้เหละพะโคะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ขี้เหล็กแก่นรูปลักษณะไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 4 ซม. ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแกมเขียว ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝัก แบบยาวและหนาสรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยาใบ รสขม ถ่ายพรรดึก ถ่ายกระษัย ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ ขับปัสสาวะแก้ระดูขาว แก้นิ่ว ตำพอกแก้เหน็บชา แก้บวม บำรุงโลหิตดับพิษโลหิต ดองสุราดื่มก่อนนอน แก้นอนไม่หลับใบอ่อน, ดอกตูมและแก่น - มีสารกลุ่มแอนทราควิโนนหลายชนิด จึงมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ใช้ใบอ่อนครั้งละ 2-3 กำมือ ต้มกับน้ำ 1-1.5 ถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว นอกจากนี้ยังพบสารซึ่งมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้นอนหลับ โดยใช้วิธีนำมาดองเหล้า ดื่มก่อนนอนดอก รสขม แก้โรคประสาท แก้นอนไม่หลับ แก้หืด แก้รังแค เป็นยาระบายฝัก รสขม แก้ไข้พิษเพื่อปิตตะ ไข้เพื่อเสมหะเปลือกฝัก รสขมเฝื่อน แก้เส้นเอ็นตึง แก้กระษัยเปลือกต้น รสขม แก้กระษัย แก้ริดสีดวงทวารกระพี้ รสขมเฝื่อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้เพื่อดี แก้กระษัยเส้นเอ็นแก่น รสขมเฝื่อน ถ่ายพิษถ่ายเส้น ถ่ายม้าม แก้กระษัย แก้เหน็บชาแก้ไข้เพื่อกระษัย ขับโลหิต แก้เตโชธาตุพิการ ทำให้ตัวเย็น แก้แสบตาแก้กามโรค หนองใสราก รสขม แก้ไข้ แก้ไข้กลับ ไข้ช้ำ รักษาแผลกามโรค






มะกรูด
Leech Lime, Kaffir LimeCitrus hystrix D.C. วงศ์ Rutaceaeชื่อท้องถิ่น มะขูด มะขุน ส้มกรูด ส้มมั่วผีลักษณะ มะกรูดเป็นพืชที่ใช้เป็นเครื่องเทศมานานแล้ว โดยใช้ผิวของผลเป็นส่วนผสมในเครื่องแกงหลายชนิด ใช้เข้าเครื่องหอมโดยเป็นส่วนผสมในเทียนอบ ใบมะกรูดมีกลิ่นหอมใช้แต่งกลิ่นในอาหารคาวหลายชนิดเช่น ต้มยำ แกงเผ็ด น้ำมะกรูดใช้ปรุงอาหารเพื่อให้มีรสเปรี้ยวและดับกลิ่นคาวปลาคนโบราณนิยมสระผมด้วยน้ำมะกรูด เพราะช่วยให้ผมดำเป็นมันไม่แห้งกรอบ คนไทยนิยมปลูกมะกรูดไว้ตามบ้านและในสวน มะกรูดเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก ใบมีกลิ่นหอม ผลค่อนข้างกลม ผิวขรุขระมีปุ่มนูนและมีจุกที่หัวของผล ส่วนที่ใช้ คือ ใบและผลสารสำคัญ ในใบและผลมะกรูด เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำจะให้น้ำมันหอมระเหยในปริมาณ 0.08 % และ4 % ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยจากผิวมะกรูดมักประกอบด้วยเบต้า-ไพนีน, ไลโมนีนและซาบินีน เป็นสารหลักส่วนน้ำมันหอมระเหยจากใบจะประกอบด้วย ซีโทรเนลลาล, ไอโซพูลิโกลและไลนาลูออล เป็นสารหลัก ส่วนในน้ำมะกรูดมีกรดซิตริก ไวตามินซีและกรดอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ




ดอกอัญชัน
Clitoria Ternatea Linn.Butterfly Pea, Blue Pea วงศ์ Papilionaceae ชื่อท้องถิ่น เอื้องชัน (ภาคเหนือ) แดงชัน (เชียงใหม่)ลักษณะ เป็นพืชล้มลุก มีลักษณะเป็นเถาเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ต่าง ๆใบเป็นใบประกอบออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 5-7ใบ ลักษณะกลมโตคล้ายพุทราเนื้อใบด้านบนเรียบ ปลายใบมน มีกระดูกใบเห็นได้ชัดเจนดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามข้อหรือซอกใบ ลักษณะคล้ายดอกถั่ว ซึ่งมีชนิดดอกชั้นเดียว และดอก 2 ชั้น มีหลายสี ทั้งสีม่วงสีน้ำเงิน และสีขาว ฝักมีขนาดเล็กค่อนข้างแบน มีเมล็ดอยู่ภายใน
แหล่งที่พบ พบได้ตามทั่วไปตามที่รกร้าง และนิยมปลูกตามบ้านเรือนเพื่อเป็นไม้ประดับสารที่พบ ในดอกมีสารแอนโทไวยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารที่ให้สีแดงและสีน้ำเงินมีคุณสมบัติเป็นอิดิเคเตอร์ (Indicator) เช่นเดียวกับ ลิสมัส (Litmus)สรรพคุณ รากมีรสเย็นจืดใช้เป็นยาขับปัสสาวะพิการเป็นยาระบาย ช่วยบำรุงดวงตา แก้ตาอักเสบ ตาฟางตาแฉะ โดยนิยมใช้รากต้นอัญชัน ชนิดดอกสีขาว นอกจากนี้ถ้านำรากมาถูฟันจะทำให้ฟันคงทนแข็งแรงและแก้อาการปวดฟันได้ดี เมล็ดใช้เป็นยาระบาย ซึ่งใช้ชนิดดอกสีนำเงินและดอกสีขาวส่วนดอกสดนำมาทาศีรษะเพื่อใช้เป็นยาปลูกผม

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน



โครงการพัฒนาดอยตุง ( พื้นที่ทรงงาน )อันเนื่องมาจากพระราชดําริ
ความเป็นมา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เคยทรงมี
พระราชปรารภกับผู้ที่ตามเสด็จหรือผู้ที่เข้าเฝ้าฯ หลายๆท่านว่าพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะหาหน่วยงานและประชาชนมาร่วมปลูกป่า ทั้งนี้ เพราะทรงมีประราชปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะเห็นป่าของเมืองไทยมีความอุดมสมบูรณ์มีความชุ่มชื้นและมีพรรณไม้ที่มีดอกอันสวยงาม แต่พระราชประสงค์ของพระองค์ยังไม่ปรากฎเป็นรูปธรรมจนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุมากแล้วรัฐบาลและประชาชนต่างมีความห่วงใยและเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรจะทรงมีที่ประทับในประเทศไทยแทนการแปรพระราชฐานไปประทับในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในทุกรอบ 2 ปี หลังจากทรงพักพระราชกรณียกิจ ดังนั้น สํานักงานราชเลขานุการในพระองค์จึงได้พยายามหาสถานที่ที่เหมาะสมสําหรับปลูกสร้างที่ประทับและในปี พ.ศ.2530 นายดํารง พิเดชหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำ 31 ได้นํา ม.ร.ว.ดิศนัดดาดิศกุล ราชเลขานุการในพระองค์ มาตรวจดูสภาพดอยบริเวณบ้านอีก้อป่ากล้วย ตําบลแม่ไร่ อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งสถานที่นี้มีทําเลที่มีภูมิทัศน์และสภาพอากศคล้ายที่ประทับในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งสถานที่นี้มีทําเลที่มีภูมิทัศน์และสภาพอากาศคล้ายที่ประทับในประเทศสวิตเซอแลนด์ ซึ่งพระองค์สามรถทรงงานเพื่อก่อประโยชน์ได้ จึงได้นําความขึ้นกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท








ในวันที่ 15 มกราคม 2530 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชินีได้เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้ากัลยาณิวัฒนามาทอดพระเนตรบริเวณที่เห็นสมควรจะสร้างพระตําหนัก ทั้งสองพระองค์ทรงโปรดสถานที่แห่งนี้และได้มีพระราชกระแสรับสั่งว่า " ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง " และเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่เขื่อนภูมิพลจังหวัดตาก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้ บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้นพร้อมด้วยพลเอก จรวย วงศ์สายัณห์ เสนาธิการทหารบก ได้เข้าเฝ้าเพื่อถวายรายงานความเรียบร้อยของการจัดงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวงที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีรับสั่งถึงประสบการณ์ที่ทรงปลูกป่าบนดอยตุง ใกล้กับพระตําหนักภูพิงค์ฯ จังหวัดเชียงใหม่ และทรงมีรับสั่งต่อว่าพระองค์ฯเคยเสด็จฯขึ้นมานมัสการพระธาตุดอยตุง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เสด็จฯมาจังหวัดเชียงราย โดยมาประทับที่สถานีประมง จังหวัดพะเยา ในปี 2509 ซึ่งครั้งนั้นพระองค์ทรงเห็นสภาพบนดอยตุงเป็นสภาพป่าไม้ที่ถูกตัดทําลายโดยการทําไร่เลื่อนลอย และทําการปลูกฝิ่นเป็นอาชีพ รวมทั้งทรงเห็นสุขภาพอนามัยของประชาชนที่เสื่อมโทรม และเด็กไร้การศึกษาทรงมีพระราชปรารภว่า " อยากจะไปปลูกป่าบนดอยตุงแต่คงจะต้องใช้ระยะเวลานานมากอาจจะ 10 ปี ซึ่งฉันคงไม่ได้เห็น " พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จึงกราบทูลว่าจะพยายามทําให้สําเร็จภายใน 5 ปี ซึ่งพระองค์พอพระทัยมาก พระราชดําริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี ดังกล่าวข้างต้น ผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รายงานเรื่องนี้ต่อรัฐบาลในขณะนั้นซึ่งมี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี และ ฯพณฯ ท่านนายกฯ ได้เห็นชอบและอนุมัติให้ดําเนินการตามโครรงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน2530 และในวันที่ 22 มิถุนายน 2530 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาดอยตุงจังหวัดเชียงรายขึ้น เพื่อรับผิดชอบในการดําเนินการและจัดทําแผนงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาต่างๆ พร้อมทั้งได้สั่งให้นําเสนอ คณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2531 ให้เความเห็นชอบในการดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย ปีพ.ศ.2531-2533 และต่อมาได้มีการขยายเวลาการดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุงออกไปอีกเป็น 3 ระยะคือระยะที่ 1 ตั้งแต่ปี 2534-2536 ระยที่ 2 ตั้งแต่ปี 2537-2545 ระยะที่ 3 ตั้งแต่ปี 2546-2560 นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในการดําเนินการตามโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ี่26 เมาายน 2531 ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายสําหรับทรงงาน จํานวน 6 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 7,737 ไร่ มีกรอบแนวทางดําเนินการและหน่วยงานรับผิดชอบดังนี้ 1. พื้นที่ที่ 1 บ.ลาบา ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีพื้นที่ 983 ไร่ 2. พื้นที่ที่ 2 หน่วยย่อยป่าไม้ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,390 ไร่ 3. พื้นที่ที่ 3 บ.จะลอ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 175 ไร่ 4. พื้นที่ที่ 4 บ.ผาหมี ต.เวียงพางคํา อ.แม่สาย จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 2,464 ไร่ 5. พื้นที่ที่ 5 พื้นที่บริเวณรอบพระตําหนักดอยตุง กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,963 ไร่ 6. พื้นที่ที่ 6 พื้นที่ระหว่างบริเวณ หลังวัดน้อยดอยตุง และบ.อีก้อผาฮี้ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 730 ไร่่ในเวลาต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ออกไปอีกรวมเป็น 27 หมู่บ้าน รวมเป็นพื้นที่ในโครงการพัฒนาดอยตุงประมาณ 93,515 ไร่


น้ำหมักชีวภาพ เทคโนโลยีชาวบ้านเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง

ฉันได้เริ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพอย่างจริงจังมาตั้งแต่ พ.ศ.2541 จากความรู้ที่ฉันมีอยู่เดิมตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาเกษตรในวิชาเคมีฯ และชีวะฯ เกี่ยวกับเรื่องอินทรีย์วัตถุ ฮอร์โมนพืช ธาตุอาหารพืช จุลินทรีย์ ได้นำเอามาใช้อย่างจริงจังก็ครั้งนี้เอง(ฉันเรียนจบชั้น ปวส.จากวิทยาลัยเกษตรกรรมสิงห์บุรี) นอกจากนี้แล้วฉันยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสาร ตำราต่างๆบ้าง ตลอดจนการการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับบุคคลต่างๆ ทำให้อดใจไม่อยู่ที่จะลองวิชาของตัวเองดูซิว่ามีระดับไหน จึงได้ทดลองทำน้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆขึ้นมาหลายสูตร(คิดสูตรเองบ้าง สูตรของคนอื่นบ้าง) และได้นำมาทดลองใช้ในชีวิตประจำวันจนเห็นผลว่าดีจริงหลายประการ จึงเกิดความคิดอยากจะแบ่งปันความรู้ แบ่งปันน้ำหมักที่มีอยู่ให้กับญาติสนิท มิตร สหายให้ได้ใช้ของดี ราคาถูก (ที่จริงแล้วพวกเขาไม่ต้องจ่ายเงินเลยเพราะฉันให้เขาไปใช้ฟรีๆ แต่เมื่อ 10 กว่าปีก่อน คนทั่วไปยังไม่รู้จักน้ำหมักชีวภาพ ไม่รู้จักEM ไม่เคยได้ยิน อยู่ๆมีจะมาบอกว่าน้ำหมักชีวภาพหรือEM ดี มีประโยชน์ ทำโน่นทำนี่ได้หลากหลายเกือบ 30 อย่าง กลับถูกมองว่าเป็นพวกไม่ค่อยปกติ โกหก โม้ บ้า งมงาย เพ้อฝัน เว่อร์ ซึ่งฉันเคยถูกมองอย่างนี้มาแล้ว ตอนนั้นฉันรู้สึกโดดเดี่ยวพอควร ได้แต่คิดว่าในเมื่อมันเป็นความจริง คนอื่นไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร เราจะทำของเราอย่างนี้ ถึงขนาดที่เวลาที่จะนำน้ำหมักชีวภาพสูตรน้ำซาวข้าวที่หมักไว้จำนวนมากจนเหลือใช้ไปเทใส่ในห้องสุขาทั้งของครูและของเด็กที่โรงเรียนต้องแอบๆทำตอนเย็นหลังเลิกเรียนและในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เพราะมักจะถูกครูและนักเรียนที่มาพบถามว่า"เอาน้ำอะไรมาเทน่ะ ทำไมมันเหม็นจัง" ซึ่งจริงๆแล้วมันไม่ได้เหม็นถึงขนาดนั้นหรอก เพียงแต่เป็นกลิ่นที่พวกเขาไม่คุ้นเคยและมันไม่หอมเหมือนน้ำหอมก็เท่านั้นเอง) ในเวลาต่อมาในสื่อต่างๆมีการกล่าวถึงน้ำหมักชีวภาพบ้างแต่ก็ยังไม่มากนัก ใน พ.ศ.2545 ที่โรงเรียนได้เป็นโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรใหม่(หลักสูตร44)มีการควบรวมหมวดวิชาเกษตรกรรม ช่างอุตสหกรรม คหกรรม และธุรกิจเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และให้มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยให้สอนงานเพื่อการดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับบริบทของท้องถิ่น ฉัน(ถูกกำหนดให้เป็นหน่วยกล้าตาย)ได้รับมอบหมายให้สอนในชั้น ม.4 ซึ่งเป็นปีแรก เพราะที่ผ่านมานักเรียนชั้น ม.ปลายไม่ต้องเรียนวิชาการงานฯ ในช่วงแรกก็สับสนพอควรว่าจะให้เด็กเรียนรู้อะไรดี คิดไปคิดมาเอาล่ะจากประสบการณ์ที่เป็นครูมา 16 ปี พบว่าเด็กๆส่วนมากจะชอบทำอาหาร(ไม่ว่าหญิงหรือชาย คล้ายกับเล่นขายของ แต่นี่ของจริง) และวัยรุ่นชอบทดลองทำอะไรที่มันท้าทาย ฉันก็เลยสอนทั้งเรื่องการทำอาหารและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในชีวิตประจำวัน เพราะนี่ก็เป็นการดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง(เผื่อว่าจะได้กินพืชผักปลอดสารพิษ และได้นำเศษอาหารไปหมักทำน้ำหมักชีวภาพ)โดยฉันสอนเนื้อหาพื้นฐานให้ และให้นักเรียนไปสืบค้นความรู้ต่อยอดเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆตามที่นักเรียนสนใจ(ตอนนั้นแหล่งความรู้เรื่องเทคโนโลยีชีวภาพยังมีน้อย) จากนั้นก็ลงมือปฏิบัติกันจริงๆ(ที่แน่ๆคือตอนนั้นนักเรียนทุกคนที่เรียนกับฉันได้ทำอาหารอย่างมีความสุขสนุกสนานและได้น้ำหมักชีวภาพสูตรน้ำซาวข้าวแบบจำยอมมาแล้วเพราะฉันมักจะได้ยินเสียงบ่นเบาๆเวลาที่ให้นักเรียนนำน้ำหมักที่ได้ไปเทใส่ในรางระบายน้ำรอบๆโรงอาหาร และใส่ในโถส้วมทั้งชายและหญิง) ฉันสอนเรื่องนี้ผ่านไปได้ 5 ปี มีนักเรียนที่เรียนเรื่องนี้เฉลี่ยปีละประมาณ 300 คน เป้าหมายหลักคืออยากให้เขานำความรู้ไปใช้ที่บ้านในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของผู้ปกครอง แต่พบว่ามีครูและนักเรียนที่สนใจมาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมไม่มากนัก มีเพียงพวกที่พบปัญหาส้วมเต็มมาปรึกษาบ่อยๆ(มาขอหัวเชื้อEM) เวลาออกไปเยี่ยมบ้านนักเรียนเคยถามผู้ปกครองนักเรียนที่ยังทำนาด้วยวิถีเคมีว่าทำไมไม่ลองใช้ปุ๋ยชีวภาพหรือนำหมักชีวภาพสูตรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชดูบ้างล่ะ คำตอบที่ได้คือ"ไม่กล้าลอง ไม่กล้าเสี่ยง ถ้าใช้แล้วใจคอไม่ดี กลัวไม่ได้ผล กลัวว่าจะได้ข้าวน้อยกว่าคนอื่นๆ" โดยส่วนตัวนั้น ฉันทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากใบไม้และเศษอาหารไว้ที่บ้าน และทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เองหลายสูตร ทั้งสูตรที่ใช้งานโดยตรงและสูตรที่แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เช่น น้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน น้ำยาสระผม สบู่ ฯลฯ (ใช้ภูมิปัญญาพึ่งพาตนเอง) จนกระทั่งปีพ.ศ.2550 ฉันได้พบบทความที่ผศ.ดร.ไชยวัฒน์ ไชยสุต อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขียนถึงการใช้น้ำหมักชีวภาพในวารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ ฉบับที่ 8/2550 ฉันจึงต้องเก็บไว้เป็นต้นฉบับสำหรับอ้างอิงกับใครๆว่า น้ำหมักชีวภาพมีมากมายหลายสูตร ใช้วัตถุดิบที่หลากหลายขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้เกือบ 30อย่าง ซึ่งมีนักวิชาการที่มีความรู้ถึงระดับด็อกเตอร์ออกมายืนยันว่ามันมีสรรพคุณอย่างนั้นจริงๆ
2. ใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูกพืช การใช้ประโยชน์จากน้ำหมักชีวภาพในด้านการเพาะปลูกพืช ส่วนใหญ่ไม่ได้เน้นที่การเพิ่มธาตุอาหารหารพืชโดยตรง แต่เป็นการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ให้ไปทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เพราะน้ำหมักชีวภาพจะมีธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม หรือ กรดอะมิโนและสารอื่นๆ ในปริมาณมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้หมัก 1. ช่วยลดแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่ายในการกำจัดชิ้นส่วนของพืชที่เหลือทิ้งจากการเพาะปลูก โดยนำชิ้นส่วนของพืชมาแปรรูปเป็นน้ำหมักชีวภาพเพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ในการเกษตร 2. ช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้น โดยนำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำเจือจางในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วนรดลงบนดินที่มีอินทรีย์วัตถุ เป็นประจำ จะช่วยปรับสภาพของดินให้ดีขึ้น โดยจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ จะไปย่อยอินทรียวัตถุให้สลายตัวเป็นธาตุอาหารพืชได้ดีขึ้น และดินจะโปร่งขึ้น การอุ้มน้ำและการระบายอากาศจะดีขึ้น 3. ช่วยป้องกัน/กำจัดแมลงศัตรูพืชและโรคพืช การนำพืชที่มีสารออกฤทธิ์ในการขับไล่หรือกำจัดแมลงศัตรูพืชและโรคพืช มาหมักเป็นน้ำหมักชีวภาพ เช่น สะเดา ตะไคร้หอม บอระเพ็ด ขิง ข่า สาบเสือ ฯลฯ แล้วผสมน้ำเจือจางในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 500 ส่วน ฉีดพ่นให้ต้นพืชอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันและหรือกำจัดแมลงศัตรูพืชและโรคพืชบางชนิดได้ 4. ช่วยผลิตฮอร์โมนพืช และสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช การนำส่วนของพืชที่มีสารกระตุ้นในการผลิตฮอร์โมนพืช เช่น ส่วนยอดของพืช ส่วนดอก ผล รวมถึงน้ำมะพร้าว ฯลฯ มาหมักเป็นน้ำหมักชีวภาพ แล้วผสมน้ำเจือจางในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วน ฉีดพ่นให้ต้นพืชอย่างสม่ำเสมอ จะเร่งการเจริญเติบโตส่วนต่างๆของพืชได้
3. ใช้ประโยชน์ในด้านสิ่งแวดล้อม 1. ช่วยปรับสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 200 ส่วนรดลงบนพื้นหรือฉีดพ่นไปตามกอหญ้ารอบๆบริเวณบ้านเป็นประจำ จะช่วยไล่แมลง และขจัดกลิ่นเหม็นรอบๆบ้านได้ 2. ใช้บำรุงสนามหญ้า นำน้ำหมักชีวภาพ ผสมน้ำเจือจางในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วน ฉีดพ่นให้สนามหญ้าหลังจากตัดหญ้า อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้สนามหญ้าสมบูรณ์ขึ้น 3. ใช้ดับกลิ่นเหม็นของท่อระบายน้ำ นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 200 ส่วน เทลงในท่อระบายน้ำเป็นประจำ จะช่วยดับกลิ่นเหม็นของท่อระบายน้ำได้ 4. ใช้ทำความสะอาดตลาดสด น้ำที่ล้างพื้น ถ้านำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 200 ส่วน จะช่วยให้การล้างทำความสะอาดพื้นง่ายขึ้น หรือใช้ราดพื้นเป็นขั้นสุดท้ายหลังจากที่ล้างแล้ว จะช่วยขจัดกลิ่นเหม็นและไล่แมลงต่างๆได้ 5. ใช้ดับกลิ่นเหม็นและลดการอุดตันของท่อระบายน้ำ นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 50 ส่วน เทลงในท่อระบายน้ำ กลิ่นเหม็นจะลดลง และจะช่วยลดการอุดตันของท่อระบายน้ำ 6. ใช้บำบัดน้ำเสีย น้ำหมักชีวภาพเทใส่ในบ่อบำบัดน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำที่จะบำบัด 500 ส่วน จะช่วยบำบัดน้ำเสียได้
4. ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน 1. ใช้ในการอาบน้ำ ล้างหน้า นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 30 ส่วน อาบน้ำหรือล้างหน้า เป็นประจำ จะช่วยลดกลิ่นตัว ลดสิว ลดฝ้ารักษาโรคผิวหนัง 2. ใช้ในการสระผม นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วน สระผม เป็นประจำ ผมจะสะอาด นุ่ม และช่วยลดรังแค แก้คันศีรษะ (ถ้าใช้น้ำหมักชีวภาพจากใบส้มป่อย หรือใบหมี่ จะทำให้ผมนุ่มสลวยเป็นเงางาม) 3. ใช้ในการซักผ้า นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 5 ส่วน แช่ผ้าทิ้งไว้ 10 นาที แล้วซัก จะช่วยให้ผ้าสะอาด เนื้อผ้านุ่ม คงทน ดับกลิ่นอับ และฆ่าเชื้อโรคได้ด้วย 4. ใช้แปรงฟัน การใช้แปรงสีฟันจุ่มน้ำหมักชีวภาพเพียงเล็กน้อย แปรงฟันจนสะอาด แล้วบ้วนน้ำล้างปากให้สะอาด จะช่วยขจัดคราบหินปูนและลดกลิ่นปากได้ ถ้าใช้เป็นประจำจะช่วยลดอาการเสียวฟัน ป้องกันฟันผุ (แต่ไม่ควรใช้ในเด็กเพราะฟลูออไรด์ที่เคลือบฟันอาจถูกสลายจากความเป็นกรดของน้ำหมักชีวภาพชนิดเข้มข้น และไม่ต้องตกใจว่าการใช้น้ำหมักชีวภาพแปรงฟันจะไม่เป็นอันตรายหรือ เพราะนมเปรี้ยวก็เป็นน้ำหมักชีวภาพชนิดหนึ่งในหลายร้อยสูตร) 5. ใช้บ้วนปาก การใช้น้ำหมักชีวภาพผสมในการทำน้ำยาบ้วนปาก(ศึกษาได้จากสูตรการทำน้ำยาบ้วนปาก)ในอัตราส่วนที่เหมาะสม จะมีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียและเชื้อราที่เป็โทษที่อยู่ในช่องปากได้ 6. ใช้ล้างจาน ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 20 ส่วน ล้างจาน หรือใช้น้ำหมักชีวภาพที่หมักจากผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะกรูด หรือมะนาว หรือสับปะรด หรือมะเฟือง 1 ส่วน ผสมน้ำยาล้างจาน 5 ส่วน จะช่วยขจัดคราบไขมันได้ดีขึ้น 7. ใช้ล้างสารพิษตกค้างในผักและผลไม้ ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 100 ส่วน แช่ไว้นาน 45 นาที หรือ ใช้น้ำหมักชีวภาพเข้มข้น แช่ไว้นาน 20 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง จะช่วยลดสารพิษ ทำให้กรอบขึ้น และเก็บได้นานขึ้น 8. ใช้ล้างห้องน้ำ ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน ราดทิ้งไว้ 10 นาที แล้วขัดถูล้างห้องน้ำ จะช่วยขจัดคราบสกปรก กำจัดกลิ่นเหม็น ฆ่าเชื้อโรค 9. ใช้ถูพื้น ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน ซักผ้าถูพื้น จะช่วยขจัดคราบสกปรก กำจัดกลิ่นเหม็น ฆ่าเชื้อโรค 10. ใช้เช็ดกระจก ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน ชุบน้ำเช็ดคราบสกปรก แล้วใช้ผ้าแห้งเช็ดตามทันทีอีกครั้งให้สะอาด จะช่วยขจัดคราบสกปรกได้ดี กระจกใสสะอาด ฝุ่นเกาะน้อยลง 11. ใช้ล้างรถ ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน ล้างคราบสกปรก แล้วใช้ผ้าแห้งเช็ดตามทันทีอีกครั้งให้สะอาด จะช่วยขจัดคราบสกปรกได้ดี สะอาดเงางาม ฝุ่นเกาะน้อยลง 12. ใช้ไล่แมลงวัน มด ยุง แมลงสาบ ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วนผสมน้ำ 10 ส่วน ฉีดพ่นในบ้าน ในห้องต่างๆทุกซอกทุกมุม และรอบๆบริเวณบ้านเป็นประจำ อากาศในห้องจะดีขึ้น และจะค่อยๆช่วยลดปริมาณแมลงต่างๆได้ 13. ใช้กำจัดกลิ่นเหม็นและลดการอุดตันของท่อในห้องครัว ห้องน้ำ ห้องส้วม นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 50 ส่วน ล้างทำความสะอาดพื้นและสุขภัณฑ์ต่างๆ จะทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น กลิ่นเหม็นจะลดลง และจะช่วยลดการอุดตันของท่อน้ำในห้องครัว ห้องน้ำ ห้องส้วม 14. ใช้บำบัดน้ำเสียในครัวเรือนก่อนปล่อยทิ้ง ใส่น้ำหมักชีวภาพเทใส่ในบ่อบำบัดน้ำ ในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำที่จะบำบัด 500 ส่วน จะช่วยบำบัดน้ำเสียได้ 15. ใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน เช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จะช่วยขจัดคราบสกปรกได้ดี 16. ใช้ทำความสะอาดเครื่องใช้ประเภทเซรามิก เครื่องเงิน เครื่องทอง เครื่องประดับต่างๆ ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 100 ส่วน เช็ดล้างทำความสะอาดจะช่วยขจัดคราบสกปรกได้ดี

ข้อมูลนี้อาจทำให้ผู้ที่ยังไม่แน่ใจในสรรพคุณของน้ำหมักชีวภาพได้ปรับเปลี่ยนมุมมองขึ้นมาบ้าง ซึ่งข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น เนื้อหายังไม่ละเอียดมากนัก หากจะนำไปใช้จริงควรต้องไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้อื่นๆให้มากกว่านี้ แต่พอจะสรุปประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพได้ดังนี้1. ใช้ประโยชน์ในด้านการเลี้ยงสัตว์ 1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารของสัตว์ การใช้น้ำหมักชีวภาพเจือจางให้สัตว์กินเป็นประจำ ในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วน จะทำให้สัตว์ย่อยอาหารได้ดีขึ้น โดยเฉพาะถ้าสัตว์กินอาหารประเภทพืชสดหรือหญ้าสด จะช่วยประหยัดอาหารสัตว์ได้ถึง 30 % เพราะกระบวนการย่อยและดูดซึมสารอาหารจะดีขึ้น 2. ช่วยเพิ่มความต้านทานโรคให้แก่สัตว์ การใช้น้ำหมักชีวภาพเจือจางผสมในอาหารสัตว์หรือน้ำดื่ม ให้สัตว์ดื่มกินเป็นประจำ ในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วน จะทำให้สัตว์แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคดีขึ้น ช่วยลดความเครียดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ จากการเปลี่ยนสูตรอาหารในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต และจากการขนย้ายสัตว์ 3. ช่วยเพิ่มผลผลิต การใช้น้ำหมักชีวภาพเจือจางผสมในอาหารสัตว์หรือน้ำดื่ม ให้สัตว์ดื่มกินเป็นประจำ ในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วน จะทำให้สัตว์ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น มีลูกดกขึ้น ไข่ดกขึ้น ปริมาณน้ำนมมากขึ้น 4. ช่วยลดกลิ่นเหม็นในคอกสัตว์ หรือในฟาร์ม การใช้น้ำหมักชีวภาพเจือจางผสมในอาหารสัตว์หรือน้ำดื่ม ให้สัตว์ดื่มกินเป็นประจำ ในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วน จะทำให้มูลสัตว์มีกลิ่นเหม็นน้อยลง และถ้าใช้น้ำหมักชีวภาพ ในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 100 - 300 ส่วน ฉีดล้างคอกสัตว์เป็นประจำ จะช่วยลดกลิ่นเหม็นในคอกสัตว์ หรือในฟาร์ม ส่วนน้ำล้างคอกสัตว์ ถ้านำไปบำบัดอย่างถูกวิธี จะนำไปรดต้นไม้หรือแปลงหญ้าอาหารสัตว์ได้โดยไม่สร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อม 5. ช่วยป้องกันน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำเน่าเสีย การใช้น้ำหมักชีวภาพในอัตรา 1 ลิตร ต่อปริมาณน้ำในบ่อ 10 ลูกบาศก์เมตร ใส่ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นประจำทุกๆ 7-10 วัน (แล้วแต่สภาพน้ำและความหนาแน่นของสัตว์เลี้ยง) จะช่วยลดความเน่าเสียของน้ำ ทำให้ไม่ต้องถ่ายน้ำบ่อยๆ หรืออาจไม่ต้องถ่ายน้ำในบ่อเลย





ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า สังคมสีเขียว (Green Society) ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล เรียกสิ่งนี้ว่า วิกฤตเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความไม่รู้ว่าจะนำปรัชญานี้ไปใช้ทำอะไร กลายเป็นว่าผู้นำสังคมทุกคน ทั้งนักการเมืองและรัฐบาลใช้คำว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นข้ออ้างในการทำกิจกรรมใด ๆ เพื่อให้รู้สึกว่าได้สนองพระราชดำรัสและให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เศรษฐกิจพอเพียง ถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือเพื่อตัวเอง ซึ่งความไม่เข้าใจนี้อาจเกิดจากการสับสนว่าเศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่นั้นเป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้มีความเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงการปฏิเสธอุตสาหกรรมแล้วกลับไปสู่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ได้รับการเชิดชูสูงสุด จาก สหประชาชาติ (UN)โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement Award แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ 26 พฤษภาคม 2549 และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็นปรัชญาที่สามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด เป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ โดยที่องค์การสหประชาชาติได้สนับสนุนให้ประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิก 166 ประเทศยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน
หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้
กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา
คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กันดังนี้
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล
เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี

เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ

เศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสียงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณ และความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียร และความอดทน สติ และปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี เศรษฐกิจพอเพียงความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่ โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการ และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ หรือ
เกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรม เฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐาน กับ แบบก้าวหน้า ได้ดังนี้ความพอเพียงในระดับบุคคล และครอบครัว โดยเฉพาะเกษตรกรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝน และประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าว จากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่ง และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสมความพอเพียงในระดับชุมชน และระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัว หรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่ม และส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามกำลังและความสามารถของตน ซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวม หรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริงความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 3 ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชน หรือเครือข่ายวิสาหกิจ สร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น



การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้ จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือ ร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลักไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด

การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้
การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจำวันของครอบครัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันและเพื่อจำหน่าย
การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ
ปัจจัยประกอบอื่น ๆ ที่จะอำนวยให้การผลิตดำเนินไปด้วยดี และเกิดประโยชน์เชื่อมโยง (Linkage) ที่จะไปเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการผลิต จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้ง เกษตรกร ธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับเศรษฐกิจการค้า และให้ดำเนินกิจการควบคู่ไปด้วยกันได้
การผลิตจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล กับ ระบบ การผลิตนั้นต้องยึดมั่นในเรื่องของ คุณค่า ให้มากกว่า มูลค่า ดังพระราชดำรัส ซึ่งได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ที่ว่า “…บารมีนั้น คือ ทำความดี เปรียบเทียบกับธนาคาร …ถ้าเราสะสมเงินให้มากเราก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ย โดยไม่แตะต้องทุนแต่ถ้าเราใช้มากเกิดไป หรือเราไม่ระวัง เรากิน เข้าไปในทุน ทุนมันก็น้อยลง ๆ จนหมด …ไปเบิกเกินบัญชีเขาก็ต้องเอาเรื่อง ฟ้องเราให้ล้มละลาย เราอย่าไปเบิกเกินบารมีที่บ้านเมือง ที่ประเทศได้สร้างสมเอาไว้ตั้งแต่บรรพบุรุษของเราให้เกินไป เราต้องทำบ้าง หรือเพิ่มพูนให้ประเทศของเราปกติมีอนาคตที่มั่นคง บรรพบุรุษของเราแต่โบราณกาล ได้สร้างบ้านเมืองมาจนถึงเราแล้ว ในสมัยนี้ที่เรากำลังเสียขวัญ กลัว จะได้ไม่ต้องกลัว ถ้าเราไม่รักษาไว้…”













วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประวัติส่วนตัวของนางสาวมณฑิตา เณรพัตร นะจ๊ะจะบอกหัย

ชื่อ นางสาวมณฑิตา เณรพัตร
ชื่อเล่น น้องสุ
เกิด วันพุธ ที่ 13 เมษายน พ.ศ.2531
อายุ 22 ปี
ที่อยู่ บ้านเลขที่ 37 หมู่ 7 ต.วังตะแบก อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร 62110
สีที่ชอบ สีเขียว
สิ่งที่ชอบ ชอบในสิ่งที่ดี
สิ่งที่ไม่ชอบ ผู้ชายปากหมา
สิ่งที่เกลียด ผู้ชายคนหนึ่งที่ปากหมา (ไม่ใช่หมา) หน้าตัวเมีย เกลียดสุดสุด เกลียดเข้ากระดูกดำ
สิ่งที่รัก บุพการี คนที่รู้ใจ และลูกหมา
เรียนโปรแกรม รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต 02 ปี 3
เกรดเฉลี่ยสะสม 2.92
สัตว์เลี้ยงที่รัก สุนัข
สุนัขชื่อ น้องเจ้ย
เพื่อนสนิท ไข่นุ้ย